แนวคิดพื้นฐานของ Lean Six Sigma
การบูรณการแนวคิดแบบลีนและวิธีการจัดการคุณภาพแบบ
Six
Sigma ซึ่งระบบการผลิตแบบลีนและการจัดการคุณภาพแบบ
Six Sigma ได้รับการพิสูจน์มามากกว่า 2 ทศวรรษ คือความเป็นไปได้ในการบรรลุการปรับปรุงอย่างค่อยเป็นค่อยไปในเรื่องของต้นทุน,
คุณภาพและเวลา โดยเน้นในเรื่องของประสิทธิภาพของกระบวนการการผลิต แบบลีน มีพื้นฐานอยู่ที่การกําจัดสิ่งไร้ค่าและปรับปรุงการไหลโดยปฏิบัติตามหลักการ
5 ประการ แบบลีน โดยข้อจํากัดของการผลิตแบบลีน มิได้รวมเครื่องมือทางสถิติชั้นสูงเข้าร่วมซึ่งสามารถสนับสนุนกระบวนการในเป็น
Lean อย่างแท่จริง ส่วนการจัดการคุณภาพแบบ Six Sigma ถูกเน้น ไปที่การลดความแปรปรวนและปรับปรุงผลลัพธ์ของกระบวนการโดยใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วย
เครื่องมือทางสถิติข้อจํากัดของการจัดการคุณภาพแบบ Six Sigma ก็คือ Six Sigma สามารถค้นหา สิ่งไร้ค่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการได้ก็จริง
แต่ไม่สามารถสร้างสมดุลและระบุจุดที่ดีที่สุดของการ ไหลของกระบวนการได้ซึ่งวิธีการทั้งสองสามารถเติมเต็มส่วนที่ขาดไปได้ของแต่ละวิธีการ
หลักการของ Lean Six Sigma
หลักการของ Lean Six Sigma นั้นเป็นการรวมเอาแนวคิด และกลยุทธ์มารวมกันเพื่อให้
องค์กรธุรกิจนั้นมีความเร็วที่ดีกว่า
มีความแปรปรวนที่ลดน้อยลง และที่สำคัญที่สุดจะมีผลกระทบต่อองค์กรมากที่สุด สังเกตดูได้จากแนวโน้มในอนาคตว่าแนวคิดต่าง ๆ
อาจจะรวมเป็นแค่วิธีการเดียวเท่านั้น คงต้องคอยติดตามดูหัวใจหลักของ Lean
Six Sigma นั้น
คืออัตราที่เร็วที่สุดของการปรับปรุงในความพอใจของลูกค้า ต้นทุน คุณภาพ ความเร่ง
และการลงทุนในทรัพย์สิน
ซึ่งแนวคิดของ Lean เองนั้นไม่สามารถที่จะทำให้กระบวนการอยู่ในการควบคุมเชิงสถิติได้
และแนวคิด
Six
Sigma เองก็ไม่สามารถปรับปรุงความเร็วของกระบวนการได้อย่างมากมายหรือลดการลงทุนได้
แต่เป็นที่รับรู้กันว่าความแปรปรวนนั้นเป็นศัตรูของธุรกิจทั้งหมด และ Lean
Six Sigma สามารถที่จะกำจัดความแปรปรวนนี้ออกไปจากกระบวนการได้ดีกว่าวิธีการอื่น
ๆ
แบบจำลองการแก้ไขปัญหา DMAIC
รายละเอียดของการดำเนินวิธีการปรับปรุงกระบวนการแบบ
Lean
Six Sigma มีขั้นตอนการแก้ปัญหาเช่นเดียวกับแบบจำลองการแก้ปัญหา DMAIC
ของ Six Sigma โดยมีขั้นตอนปฏิบัติดังต่อไปนี้
แบบจำลองการแก้ไขปัญหาของ
Lean
Six Sigma จะประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
1. Define
ระบุถึงปัญหาของกระบวนการ กำหนดคุณค่า
และสร้างกระบวนการในเป็นกระบวนการลีน เน้นที่หลักการ 5 ประการของกระบวนการแบบลีน
2. Measure
วิธีการวัดผลโดยวัดผลการดำเนินการแบบลีน เช่น Savser และ Al Jawini (1995)
วัดประสิทธิภาพของระบบการผลิตแบบลีนใน 3 ตัววัด คือ
1. อัตราการลดเวลาในการทำงาน (Throughput rate)
2. งานคงค้างในกระบวนการ (Work in process inventory)
3. การใช้ปกระโยชน์ของสถานีงาน (Station utilization)
3. Analyses ใช้เครื่องมือทางสถิติของ
Six
Sigma วิเคราะห์
ค้นหาและระบุกิจกรรมที่ไม่ทำให้เกิดคุณค่าในกระบวนการ สร้างแผนภาพสายธารคุณค่า (Value
Stream Mapping)
เครื่องมือ 8 ชนิดที่มีความจำเป็นที่จะปฏิบัติงานให้สำเร็จ
เครื่องมือเหล่านี้เป็นกลุ่มย่อยของเครื่องมือที่ความสามารถในเชิงสถิติและการจัดการที่มีมากมาย
(Zink
Graf และ Snee, 1999)
1.
Process
Map
2.
Cause
Effects Analysis
3.
Capability
Analyses
4.
Hypothesis
Testing
5.
Multi-Variable
Analysis
6.
Designs
of Experiments (DOE)
7.
Failure
Modes and Effects Analysis (FMEA)
8.
Control
Plan
4. Improve
ในขั้นตอนการปรับปรุง แก้ปัญหา โดยการเลือกใช้เครื่องมือของลีน
ในการกำจัดปัญหาเหล่านั้น
5. Control
การควบคุมกระบวนการให้อยู่ในขอบเขตที่ควบคุมไว้
โดยการสร้างแผนตรวจสอบกระบวนการตามระยะอย่างสม่ำเสมอ
องค์ประกอบสำคัญที่มีบทบาทต่อ Lean
Six Sigma
โครงสร้างและหน้าที่รับผิดชอบ ของ Lean
Six Sigma ประกอบด้วย
1. Master
Black Belt คือ ผู้นำในกระบวนการ Six Sigma จะได้รับการอบรมเทคนิคสถิติขั้นสูง
(Advanced statistical) เพื่อนำเทคนิคมาถ่ายทอดให้กับสมาชิก
รวมทั้งให้การสนับสนุนและเป็นพี่เลี้ยงให้กับทีมงาน
2. Black
Belt คือ ผู้ทำงานในระดับหัวหน้าโครงการ(Project
leader) จะได้รับการอบรมทางสถิติเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานจริง
3. Green Belts เป็นผู้ทำงานร่วมกับ Black
Belt เพื่อร่วมแก้ปัญหา
ซึ่งจะได้รับการฝึกอบรมทางเทคนิคแก้ปัญหาด้วยสถิติเพื่อนำความรู้มาประยุกต์ใช้กับโครงการ
10 ขั้นตอนในการนำเอา Lean Six Sigma ไปใช้งาน
1.
ต้องหาทีมที่ปรึกษา ที่ปรึกษาในยุคปัจจุบันจะต้องเป็นเหมือน
ตัวแทนความรู้ (Knowledge Agent) ที่จะต้องมีความรู้ในเรื่องราวเทคนิคใหม่
ถ่ายทอดได้
และสร้างกระบวนการถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นให้เกิดขึ้นกับองค์กรที่ได้รับคำปรึกษา
ดังนั้นเพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการเรียนรู้
องค์กรจึงจำเป็นที่จะต้องหาที่ปรึกษามาเป็นตัวกระตุ้นมาเป็นตัวแทนความรู้ในการบริหารความเปลี่ยนแปลง
2.
ความเป็นผู้นำ (Leader ship) สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากในการนำองค์กรธุรกิจ
คือ ความเป็นผู้นำ (Leader ship) วิสัยทัศน์ (Vision)
และเป้าหมาย (Goal) ขององค์กรจะต้องถูกกำหนดอย่างเด่นชัดโดยผู้นำ
MD หรือ CEO เพื่อที่จะสร้างความเกี่ยวโยงไปถึงโปรแกรม
หรือโครงการ Lean Six Sigma
3.
การคัดเลือกผู้ปฏิบัติงาน
การสร้างงานใหญ่ในระดับองค์กรนั้นจะต้องมีเจ้าภาพ หรือผู้ที่รับผิดชอบ
4.
การฝึกอบรม ทุกบริษัทมีการฝึกอบรมประจำทุกปี หรือตลอดเวลาตามแผนงาน
ฝ่ายทรัพยากรบุคคลซึ่งจะเป็นฝ่ายจัดการฝึกอบรมจึงมีความสำคัญมาก
เพราะว่าการฝึกอบรมที่มาจากฝ่ายบุคคลเป็นความต้องการพื้นฐานของบุคคลไม่ใช่ขององค์กรที่กำลังต้องการจะเปลี่ยนแปลง
5. การเริ่มโครงการ
โครงการจะริเริ่มได้ก็คงจะต้องมาจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่ผ่านการฝึกอบรม
มาก่อน
สิ่งที่สำคัญของโครงการริเริ่มต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นโครงการอะไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ
การได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร
6. การเลือกโครงการ
และการดำเนินงาน เราสามารถเริ่มโครงการ Lean และ
Six Sigma ด้วย
ภาพองค์รวมขององค์กรได้ด้วยการวาดแผนผังสายคุณค่า
(Valve
Stream Mapping) ที่จะแสดงให้เห็นถึงกระบวนการธุรกิจ
และจุดที่สามารถจะนำมาเป็นโครงการที่ทำให้เกิดผลประโยชน์ได้มากขึ้น
1.
การติดตามผลสมรรถนะของทีมงาน
โครงการโดยทั่วไปแล้วในระดับผู้บริหารจะติดตามผล
จากผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบทางการเงินด้วยกำไรที่เพิ่มขึ้น
หรือต้นทุนที่ลดลง
2.
การพัฒนาปรับปรุงสมรรถนะของทีม
การติดตามสมรรถนะของโครงการริเริ่ม เช่น Lean Six
Sigma
ก็คงจะไม่ใช้แค่การประเมินบุคคล หรือความสามารถของบุคคลเท่านั้น
แต่เป็นการประเมินความสามารถขององค์กรในการตอบสนองต่อการพัฒนา
3.
ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
คงจะเหมือนกับคำที่ว่า Keep Walking โครงการ Lean
Six Sigma
ไม่เหมือนกับโครงการทั่วไปที่มีจุดเริ่มต้น
และจุดจบหรือจุดสำเร็จของโครงการ แต่โครงการ Lean Six Sigma ไม่เหมือนกัน เพราะว่าขั้นตอนหลังสุดของทั้ง Lean และ
Six Sigma คือ การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous
Improvement)
10. พัฒนาจนไปบรรจบกับการจัดการโซ่อุปทาน จากสภาพการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป และความซับซ้อนในการดำเนินธุรกิจที่มีมากขึ้น ส่งผลให้บริษัท และองค์กรต่าง ๆ ต้องพัฒนาแนวคิดการจัดการขึ้นมาใหม่ หรือบูรณาการจุดแข็งของแนวคิดเดิมที่มีอยู่ขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สามารถรับมือและตอบสนองกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้
10. พัฒนาจนไปบรรจบกับการจัดการโซ่อุปทาน จากสภาพการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป และความซับซ้อนในการดำเนินธุรกิจที่มีมากขึ้น ส่งผลให้บริษัท และองค์กรต่าง ๆ ต้องพัฒนาแนวคิดการจัดการขึ้นมาใหม่ หรือบูรณาการจุดแข็งของแนวคิดเดิมที่มีอยู่ขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สามารถรับมือและตอบสนองกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้
สรุปก็คือ Lean สร้างกระบวนการโดยเน้นการไหลของกระบวนการ
นั่นคือลดระยะเวลานําของกระบวนการได้คือการสร้างความเร็วให้แก่กระบวนการแต่ลดเปอร์เซ็นต์ความของเสียได้เพียง
เล็กน้อยผลที่ตามมาคือต้นทุนลดลงได้ในระดับหนึ่งดังเช่น Lean และSix Sigma สามารถลดเปอร์เซ็นต์ของเสียได้นั่นคือสร้างความเชื่อถือให้แก่กระบวนการแต่มิได้ลดเวลานำของกระบวนการ
เป้าหมายในการลดต้นทุนจึงลดลงได้ในระดับหนึ่ง การบูรณการ Lean Six Sigma ทําให้ลดระยะเวลานำของกระบวนการ บวกกับลดเปอร์เซ็นต์ของเสยี ลงได้นั่นคือการสร้างความเร็วและความน่าเชื่อถือให้แก่กระบวนการผลลัพธ์ที่ตามมาคือสามารถ
ทำให้ต้นทุนลดลงต่ำที่สุดจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข็งขัน และสนองความต้องการของ
ลูกค้า